PROJECT PRY02 x RasaDrums

22 March - 8 May 2022
WTF Gallery, Bangkok
Opening Reception: Tuesday 22 March 2022, 6pm onwards


Artists & Curators
Artist: Soifa Saenkhamkon, Tippawan Narintorn, Nat Setthana
Curator: Penwadee Nophaket Manont
Co-Curator: Somrak Sila
Scholar/Cultural Activist: Thanom Chapakdee

Please join us at WTF Gallery & Cafe on Tuesday 22 March 2022, 6pm for the opening of the exhibition, RasaDrums performance and artists/curator talk of Project-PRY02.

18.30-18.40 RasaDrums performance
19.00-19.45 Artists and curators talk

WTF Gallery proudly present Project PRY 02 x RasaDrums, a collaboration of curatorial and artistic practices to create of a new platform for contemporary artwork that goes beyond the orthodox gallery space or artist studio― to address ecology, to embed curators and artists working with a group or community whose works are directly related to socio-political to define and enact social change.

RasaDrums - the term is a combination of the words ‘Rasadorn’ meaning the people and drums – was officially initiated around mid 2020 by the two leaders from different theater-artist groups as well as active citizens. They started with a few people and later put out a call for more to organize a theatrical performance about 99 deaths during 2010 crackdowns on red-shirt protesters in Bangkok. Young actors, performers, and musicians organically became part of RasaDrums after being recruited. At first, they used paint buckets until they fell apart, and the Mirror Foundation leader who is also a renowned activist, decided to support them by donating the drums to the group. From then on, they have officially named themselves RasaDrums.

Project PRY02 x RasaDrums aims to investigate and illustrate the history and ideology of activist artists performing side-by-side with the political demonstrators; how and if they might have played an important role and be able to pass on their sonic vibration and rhythmic diversity among social, cultural, economic and political reckoning of the past two years. The artworks are presented as video archives based on casting directors/filmmakers’ point of view, as well as a conceptual piece where an artist enquires the ideological flow between private and public spaces within the sphere of political activism through his own semi-fictional narrative. In addition, a scholar/art critic/cultural activist is invited to share critical thinking about musical performance as Aesthetics of Resistance.



โปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์

22 มีนาคม - 8 พฤษภาคม 2565
WTF แกลลอรี่ กรุงเทพฯ
งานเปิด วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565, 18.00น.


ศิลปินและภัณฑารักษ์
ศิลปิน: สร้อยฟ้า แสนคำก้อน, ทิพย์วรรณ์ นรินทร, ณัท เศรษฐ์ธนา
ภัณฑ์รักษ์: เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
ภัณฑ์รักษ์ร่วม: สมรัก ศิลา
นักวิชาการ/นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม: ถนอม ชาภักดี

WTF Gallery & Café มีความยินดีขอเชิญท่านเข้าร่วมเปิดงาน การแสดงจากราษฎร์ดรัมส์ และงานเสวนาของศิลปินและภัณฑารักษ์ในโปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์ ในวันอังคารที่ 22 มีนาคม เวลาหกโมงเย็นเป็นต้นไป

18.30น. -18.40น. การแสดงโดยราษฎร์ดรัมส์
19.00น.- 19.45น. เสวนาของศิลปินและภัณฑารักษ์

WTF แกลอรี่ภูมิใจนำเสนอโปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภัณฑารักษ์และศิลปินที่เน้นแนวปฏิบัติทางศิลปะที่เพื่อสร้างเวทีใหม่เพื่อแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ที่ทะลุกรอบพื้นที่แสดงศิลปะแบบเดิม หรือการทำงานของศิลปินในสตูดิโอ เพื่อให้เห็นถึงระบบนิเวศน์ของศิลปะ รวมทั้งฝังทั้งตัวภัณฑารักษ์และศิลปินเข้ากับชุมชน หรือกลุ่มนักกิจกรรมที่มีผลงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสังคมและการเมืองเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ราษฎร์ดรัมส์ เป็นการรวมคำแบบสมาสระหว่าง 'ราษฎร' ซึ่งหมายถึงประชาชน และ 'กลอง' ที่เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน ราษฎร์ดรัมส์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการประมาณกลางปี 2563 โดยผู้นำสองคนจากกลุ่มศิลปินการละคร ทั้งยังเป็นพลเมืองนักเคลื่อนไหว พวกเขาเริ่มต้นจากสมาชิกไม่กี่คนและต่อมาได้เปิดรับสมัครทีมงานเพื่อร่วมจัดการแสดงละครเกี่ยวกับผู้วายชนม์ 99 ราย ระหว่างการปราบปรามผู้ประท้วงเสื้อแดงในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2553 ยังผลให้มีเยาวชนซึ่งบ้างเป็นศิลปินละครเวที นักแสดง และนักดนตรี ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ราษฎร์ดรัมส์ โดยธรรมชาติหลังจากมีการรับคัดเลือกจำนวนมากขึ้น ในตอนแรกพวกเขาเพียงนำถังสีมาใช้เป็นเครื่องดนตรีจนกระทั่งมันพังลง หลังจากนั้นประธานฯ มูลนิธิกระจกเงาซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองที่มีชื่อเสียงได้ตัดสินใจสนับสนุนพวกเขาด้วยการบริจาคกลองให้กับกลุ่ม จากนั้นเป็นต้นมาพวกเขาได้ตั้งชื่อตัวเองว่า ราษฎร์ดรัมส์ อย่างเป็นทางการ

สำหรับโครงการ โปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์ ภัณฑารักษ์มุ่งสำรวจและนำเสนอประวัติศาสตร์ ที่มาและอุดมการณ์ของกลุ่มศิลปินนักเคลื่อนไหวที่ทำการแสดงและยืนเคียงข้างกับผู้ชุมนุมประท้วงทางสังคมและการเมือง พวกเขาอาจมีบทบาทสำคัญและสามารถส่งต่อการสั่นสะเทือนของเสียงและความหลากหลายของจังหวะได้หรือไม่...อย่างไร ท่ามกลางชะตากรรมทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยในช่วงสองปีที่ผ่านมา? ผลงานถูกนำเสนอในรูปแบบวิดีโอบันทึกผ่านมุมมองของ ผู้คัดเลือกนักแสดง/นักทำภาพยนตร์ และในรูปแบบคอนเซ็ปชวลอาร์ตที่ศิลปินตั้งคำถามต่อกระแสแห่งอุดมการณ์ทางความคิดระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม ภายใต้ขอบเขตของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ผ่านการเล่าเรื่องกึ่งสมมุติในระดับปัจเจก นอกจากนั้น นักวิชาการ/นักวิจารณ์ศิลปะ/นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม ยังถูกเชื้อเชิญมาร่วมแบ่งปันแนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยการแสดงดนตรีในฐานะสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน